วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

 



บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2563

เวลา 08:30 - 12:30 น.

เนื้อหา

วิทยาศาสตร์ คือ ความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้เเละทำความเข้าใจรอบตัวเเละตัวตนของตนเอง


   ความพยายามเช่นนี้ติดตัวของมนุษย์ตั่งแต่เเรกเกิด ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากธรรมชาติรอบตัวของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็นช่างสังเกตเเละคอยชักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาเจอการทำความเข้าใจสิ่งรอบตัวเเละตัวตนของตนเองโดยการสังเกตเเละคอยชักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่พวกเขาเจอช่วยเชื่อมโยงของสมองของเด็กโดยเฉพาะเด็กเล็กๆ เพราะสงเสริมให้เด็กคิดและเป็นการเตรียมการเรียนรู้ได้มากขึ้น


การจัดประสบการณ์ คือ การจัดกิจกรรม และการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในห้องเรียนโดยให้ได้รับประสบการณ์ตรงจากการเล่น การลงมือปฏิบัติ ซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี และเพื่อส่งเสริมพัฒนาการให้ครบทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา


การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ต้องคำนึงถึง 3 สิ่ง

     1. เรื่องที่เด็กสนใจ

     2. สิ่งที่ใกล้ตัวเด็ก

     3. เหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อตัวเด็ก

หลักสูตรวิทยาศาสตร์

    1. ตัวฉัน

    2. บุคคล เเละ สถานที่

    3. คนรอบตัว

    4. ธรรมชาติ สิ่งเเวดล้อมรอบตัว 

ความหมายของพัฒนาการ

     คือ ความสามารถที่เเสดงออกมาเเต่ละช่วงอายุ

 ลักษณะของพัฒนาการ

     คือ การเปลี่ยยนเเปลงเป็นขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง เปรียบเสมือน ขั้นบันไดพัฒนาการเเต่ละขั้น จะต้องมั่นคง เพราะ จะมีผลต่อขั้นต่อๆไป

การเล่น

     คือ การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ลงมือกระทำกับวัสดุ เพื่อเลือกเเละตัดสินใจอย่างมีความสุข 

เพียเจย์ สรุป

      1. ขั้นประสาทรับรู้ เเละการเคลื่อนไหว ช่วงอายุ เเรกเกิด ถึง 2 ปี

 โดยใช้ประสาทรับรู้ทั้ง 5 กระ ทำกับวัตถุ เช่น ไขว่คว้า มองดู

      2. ขั้นก่อนปฎิบัติการคิด ช่วงอายุ 2 ถึง 7 ปี

  • ขั้นก่อนสังกัป คือตอบตามตาเห็น
  • ขั้นญาณหยั่งรู้ คือ ขั้นอนุรักษ์ การมีเหตุผล

     3. ขั้นปฎิบัติการคิดด้านรูปธรรม คือ รูปภาพ


คำศัพท์

  1. concrete รูปธรรม

  2. thinking skill ทักษะการคิด

  3. Method   วิธีการ

  4. Environment สิ่งเเวดล้อม

  5. step ขั้นตอน


ประเมินอาจารย์  อาจารย์อธิบายเข้าใจง่าย อย่างละเอียดเปิดโอกาสให้ซักถาม

ประเมินเพื่อน    เพื่อนๆตั้งใจฟังร่วมสนทนาถามตอบ

ประเมินตนเอง  ตั้งใจเรียน  ตอบคำถาม มีส่วนร่วม




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

  สรุปวิจัย สรุปวิจัยเรื่อง   : การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์                         (Preschool Children...