วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

 



สรุปวิจัย

สรุปวิจัยเรื่อง : การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 
                       (Preschool Children's Critical Thinking Though Science Activities)
ปริญญานิพนธ์ของ : นันธิชา ทาภักดี

จุดมุ่งหมาย
        1.เพื่อพัฒนาการจัดประสบการณ์เสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพ
        2.เพื่อเปรียบเทียบทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยระหว่างก่อนและหลังจัดประสบการณ์


สมมติฐานการวิจัย            
        การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ สูงกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์

ตัวแปรที่ศึกษา
        ตัวแปรตาม ได้แก่ 
  • การสังเกต
  • การวัด
  • การจำแนก
  • ทักษะการสื่อความหมาย
  • ทักษะการพยากรณ์
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
        - แบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย
        - แผนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 

  
แบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย
         ชุดที่ 1 การคิดวิเคราะห์
         ชุดที่ 2 การใช้เหตุผล
         ชุดที่ 3 การสังเคราะห์
         ชุดที่ 4 การประเมินค่า


   จุดประสงค์การเรียน
เพื่อวิเคราะห์ค่าดัชนีประสิทธิผลของทักษะทางวิทยาศาสตร์โดยการจัดประสบการณ์เสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์



อ้างอิง 




 




สรุปตัวอย่างการสอน

                ซู เดอแรนต์ และชีลา เสจ ที่ปรึกษาครูระดับปฐมวัย มีความปรารถนาอย่างยิ่งที่จะพัฒนากลยุทธ์

เพื่อการเรียนรู้แบบเน้นความสนุกสนาน รายการตอนนี้ ทั้งสองศึกษากิจวัตรประจำวันที่โรงเรียนอนุบาลแห่ง

หนึ่ง และดูว่าจะนำกิจวัตรประจำวันมาใช้อย่างไร เพื่อพัฒนาทักษะการพึ่งตนเองและสร้างจินตนาการให้

เกิดขึ้นในตัวเด็ก รายการนี้จะทำให้ผู้ชมได้เห็นกิจวัตรประจำวันในแง่มุมใหม่ ตั้งแต่การแขวนเสื้อกันหนาว

การลงชื่อเข้าเรียน และการเข้าห้องน้ำ ได้เห็นเด็ก ๆ เลือกและกำกับกิจกรรมของตนเอง ตลอดจนได้เห็น

ครูจัดโอกาสการเรียนรู้ให้แก่เด็ก ๆ ซูและชีลายังศึกษาด้วยว่าจะใช้พื้นที่ในห้องเรียนให้หลากหลายได้

อย่างไร ทั้งสองจัดพื้นที่สำหรับใช้ความคิดให้แก่เด็ก ๆ ตลอดจนจัดเวลาให้เด็กได้โต้ตอบและเรียนรู้ตาม

ระดับความสามารถของตัวเอง สุดท้าย เราจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ “กล่องความคาดหวัง” ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งในการ

ช่วยส่งเสริมให้เด็ก ๆ อยากมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ประเด็นสำคัญของรายการตอนนี้คือ - ดูมาตรฐานที่เด็ก

ๆ ใช้กำกับการทำกิจกรรมของตัวเอง - ที่ปรึกษาครูระดับปฐมวัยซึ่งมากด้วยประสบการณ์ร่วมแบ่งปันความรู้



อ้างอิง            










 



สรุปบทความ

        การทดลองถือเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่เด็ก ๆ หลายคนชื่นชอบ เพราะนอกจากความสนุกสนานและตื่นตา

ตื่นใจที่เด็ก ๆ จะได้จากการทดลองแล้ว ยังช่วยฝึกทักษะการคิด ส่งเสริมให้เด็กเป็นคนช่างสำรวจ สืบเสาะ 

ค้นหา รู้จักหาคำตอบและเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาได้ด้วยตัวเอง คุณครูและผู้ปกครองสามารถส่งเสริมให้กับ

เด็ก ๆ ได้ด้วยการหากิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์สนุก ๆ มาให้เด็กได้ลองทำกันค่ะ



อุปกรณ์สำหรับการทดลอง

  1. Pattern ดอกไม้กระดาษ สำหรับทำกิจกรรม
  2. ปากกาเมจิกหรือปากกาสีน้ำ
  3. ปากกาตัดเส้นสีดำ
  4. กรรไกร
  5. จานหรือถาด สำหรับใส่น้ำ
  6. น้ำ



            เมื่อเด็ก ๆ ทำกิจกรรมเสร็จแล้ว เด็กกับคุณครูหรือผู้ปกครองร่วมกันสรุปผลการทดลอง พูดคุย

ถึงสิ่งที่เห็นจากการทดลอง ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างและสิ่งที่เด็ก ๆ เห็นเป็นไปตามสมมติฐานที่เด็ก ๆ ตั้ง

ไว้หรือไม่ จากนั้นคุณครูหรือผู้ปกครองช่วยสรุป และอธิบายถึงสิ่งที่เกิดจากการทดลองให้เด็ก ๆ ฟัง

 จากนั้นให้เด็กวาดภาพอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง ขั้นตอนในการทดลอง และเขียนสรุปผลการ

ทดลองสั้น ๆ ตามความรู้ ความเข้าใจของตัวเด็กเอง (สำหรับเด็กเล็กคุณครูหรือผู้ปกครองอาจช่วย

เด็กสรุป แล้วจดบันทึกตามคำพูดของเด็ก เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบพัฒนาการทางความคิดของเด็ก

 ในการทดลองครั้งต่อไป)



           สิ่งสำคัญที่สุดในการทำกิจกรรมคือ การเปิดโอกาสให้เด็กได้คิดและเรียนรู้อย่างอิสระ ผ่านการ

ลงมือทำจริงด้วยตัวเอง โดยมีคุณครูหรือผู้ปกครองคอยให้คำแนะนำ และดูแลความปลอดภัยของ

เด็ก ๆ ในทุกขั้นตอนด้วยนะคะ เด็ก ๆ จะได้พัฒนาด้านสติปัญญา เกิดความคิดสร้างสรรค์ สนุกและ

เรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ เพื่อพัฒนาการที่ดีของเด็กในทุก ๆ ด้านต่อไป



อ้างอิง




วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

 


บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

 วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

 เวลา 08:30 - 12:30

                                                      

เนื้อหา

คุณครูต้องเริ่มจากคำถามของเด็กๆ ครูมีหน้าที่ให้คำตอบ จดบันทึกจากคำพูดของเด็ก
                1.ครูพูดคุยเรื่องชีวิตประจำวันของเด็กๆ   ครูต้องการที่จะกระตุ้นในการทำกิจกรรม
                2.อุปกรณ์  จะเป็นตัวอย่าง คือ การกระตุ้นให้เด็กสงสัยอยากรู้ ครูควรที่จะซ้อนไว้ในกล่องแล้วนำออกมาทีละชิ้นพร้อมกับแนะนำชื่ออุปกรณ์
                3.การนำเข้ากิจกรรม โดยใช้คำถาม และถามเด็กว่ามีใครอยากช่วยคุณครูบ้างคะ
                4.เริ่มกิจกรรม ในแต่ละขั้นควรให้เด็กสังเกต ว่าเห็นอะไรบ้าง ทุกๆการตอบของเด็กครูควรที่จะสนองคำตอบของเด็ก ด้วยการชมว่าเก่งมาก
                5.ขั้นสรุป ครูต้องถามความว่า ทำอะไรบ้าง เห็นอะไรบ้าง สรุปข้อเท็จจริง คือการสังเกตเห็นอะไรจากผลที่ทำ
                6.การบูรณาการ ด้านภาษากับคณิตศาสตร์สอดแทรกเข้าไป

      จากนั้นอาจารย์ให้แบ่งกลุ่มและเลือกกลุ่มละ 1หน่วย กลุ่มดิฉันเลือกหน่วยไข่






วันจันทร์ สอนเรื่อง ชนิดของไข่

วันอังคาร สอนเรื่อง ลักษณะของไข่

          วันพุธ สอนเรื่อง  การดูแลรักษาไข่

          วันพฤหัสบดี สอนเรื่อง  ประโยชน์ของไข่

          วันศุกร์ สอนเรื่อง โทษของไข่





คำศัพย์

  1. dinosaur ไดโนเสาร์
  2. blame โทษ
  3. experiment การทดลอง
  4. food coloring สีผสมอาหาร
  5. egg ไข่

ประเมินอาจารย์ อาจารย์อธิบายกระชับเข้าใจง่าย

ประเมินเพื่อน ตั้งใจฟังดี สนใจกิจกรรม

ประเมินตนเอง ตั้งใจทำกิจกรรม ถามเมื่อมีข้อสงสัย





 


บันทึกอนุทินครั้งที่  8

วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2563

เวลา 08:30 - 12:30 น


เนื้อหา

               อาจารย์แจกกระดาษ 2ชิ้น เพื่อให้ประดิษฐ์ของเล่นเกี่ยวกับ อากาศ ฉันทำกังหันโดยใช้แรงหมุนจากมือ





อาจารย์ได้เเจกดินน้ำมันให้ปั้นที่สามารถลอยบนน้ำได้ดิฉันเลยปั่นเป็นรูปทรงคล้ายๆถ้วยเเละจานเพื่อให้อากาศเข้าไปจึงทำให้ดินน้ำมันลอยได้ 



กิจกรรมสุดท้ายอาจารย์ ให้นำน้ำใส่ถาด และให้ปั้นดินน้ำมันเป็นก้อนกลมๆใส่ในถาด ปรากฎว่าดินน้ำมันจม และสุดท้ายให้ทำอย่างไรก็ได้ให้ดินน้ำมันลอยอยู่บนผิวน้ำได้ ฉันจึงทำให้ดินน้ำมันแบนๆ และยกด้านข้างขึ้นสูงเพื่อไม่ให้น้ำเข้าไป จึงทำให้ดินน้ำมันลอยได้


  1. force แรง
  2. plasticine ดินน้ำมัน
  3. rotate หมุน
  4. float ลอย
  5. sink  จม

ประเมินอาจารย์ อาจารย์อธิบายกระชับเข้าใจง่าย

ประเมินเพื่อน ตั้งใจฟังดี สนใจกิจกรรม

ประเมินตนเอง ตั้งใจทำกิจกรรม ถามเมื่อมีข้อสงสัย






วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

 


บันทึกการเรียนครั้งที่ 7 

วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม 2563

เวลา 08:30 - 12:30 น.

ส่วนประกอบของน้ำ

    ในร่างกายมี 70% ช่วยปรับสมดุลในร่างกายช่วยปรับอุณหภูมิ ในผลไม้มี 90% 

คุณสมบัติของน้ำ น้ำมี 3 สถานะ

  1.ของแข็ง

  2.ของเหลว

  3.ก๊าส

สามารถเปลี่ยนสถานะได้

ความกดดันของน้ำ

    น้ำที่อยู่บนสุด มีแรงกดดันน้ำน้อยที่สุด น้ำพุ่งได้ในระยะสั้นที่สุดน้ำที่มีความลึกเท่ากัน จะมีแรงกดดันน้ำเท่ากันแรงกดดันน้ำไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาด แต่ขึ้นอยู่กับความลึกยิ่งลึกมากแรงกดดันน้ำจะยิ่งมาก

การเกิดฝน

    แหล่งน้ำโดนความร้อน ทำให้น้ำระเหยเป็นไอน้ำ รวมตัวกันเป็นก้อนเมฆลอย ไปกระทบกับความเย็นเกิดความควบแน่น ตกลงมาเป็นฝน

เเรงตึงผิว

    เมื่อผิวหน้าของน้ำสัมผัสกับอากาศ ทำให้เกิดความยืดหยุ่น เมื่อเราวางวัตถุที่มีน้ำเบาลงบนผิวน้ำช้าๆ จะสามารถทำให้วัตถุลอยได้





คำศัพท์
  1. Pressure เเรงกดดัน
  2. Phenomenon ปรากฏการณ์
  3. Gas    เเก๊ส
  4. Design    ออกแบบ
  5. Commuting   การทดลอง

ประเมินอาจารย์ อาจารย์อธิบายกระชับเข้าใจง่าย มีการยกตัวอย่างประกอบ

ประเมินเพื่อน ตั้งใจฟังดี สนใจเนื้อหาที่เรียน

ประเมินตนเอง ตั้งใจเรียน ถามเมื่อมีข้อสงสัย






 


บันทึกการเรียนครั้งที่ 6 
วันพุธที่ 7 ตุลาคม 2563 (เรียนชดเชยภาคบ่าย)

เนื้อหา

กิจกรรมที่  1

ให้วาดเกี่ยวกับ เเหล่งน้ำที่มีชื่อเสียง

โดยจับกลุ่ม 5 คน เเละ เลือกมา 1 สถานที่กลุ่มของฉันเลือกวาดเป็น เเม่น้ำเเคว 

อยากลองให้เพื่อนๆสังเกตเเละทายว่าสิ่งใดบ่งบอกว่า คือเเม่น้ำเเคว 

สิ่งที่บ่งบอก นั่นก็คือ มีสะพาน มีเเพ เเละรถไฟ

        -  กลุ่มดิฉันได้วาด    สะพานพุทธ

        -  ลักษณะเด่น  คือ   ตัวสะพานมีสีเขียวตรงโครงเหล็ก




กิจกรรมที่ 2 
         อาจารย์ให้ออกแบบและสร้างสวนสนุกข้างๆกับเเหล่งน้ำของกลุ่มตนเอง ซึ่งใช้หลอดเป็นอุปกรณ์หลักในสร้าง  สร้างเป็นสไลเดอร์ โดยสร้างในรูปแบบที่ห้ดินน้ำมันไหลลงมาสู่พื้นช้าที่สุด  เมื่อทำเสร็จแต่ละกลุ่มก็นำมาแข่งขันกันว่ากลุ่มไหนไหลดินน้ำมันไหลลงพื้นได้ช้าที่สุด 
     
 กลุ่มดิฉันออกแบบสวนสนุกที่มี  ชื่อว่า ไหลลื่น  
 อุปกรณ์มีดังนี้  หลอด   เทปใส  กรรไกร



กิจกรรมที่ 3
           ให้สมาชิกในกลุ่มพับกระดาษเเล้วตัดกระดาษเป็นรูปดอกไม้   พร้อมระบายสีเกสรของดอกไม้  เมื่อทำเสร็จให้พับดอกไม้เข้าหากันให้คล้ายๆดอกไม้หุบอยู่  หลังจากนั้นตัวเเทนเเต่ล่ะกลุ่มนำดอกไม้ไปว่างในถาดใส่น้ำที่เตรียมไว้ เมื่อวางดอกไม้ลงในถาดเสร็จ กลุ่มไหนดอกไม้บานครบทุกดอกถือว่าประสบผลสำเร็จ
***ทำไมดอกไม้ถึงบาน  เพราะกระดาษมีรูพรุนน้ำจึงไหลเข้าไปแทนที่ทำให้ดอกไม้ที่ทำจากกระดาษนั้นหนักขึ้น  จึงค่อยๆคล้ายออกหรือบานออกนั้นเอง





คำศัพท์

  1. Lay      วางเเผน
  2. Point    จุดเด่น
  3. Water resources    เเหล่งน้ำ
  4. Engineering   วิศวกรรม
  5. Lmportant      สำคัญ


    ประเมินอาจารย์  หากิจกรรมชวนให้นักศึกษาทำไม่เบื่อ

    ประเมินเพื่อน  ให้ความรวมมือทุกกิจกรรม เเละสร้าเสียงหัวเราะเฮฮาในกิจกรรม

    ประเมินตนเอง   ช่วยคิดเเละลงมือทำ




  สรุปวิจัย สรุปวิจัยเรื่อง   : การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์                         (Preschool Children...